องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง

Khumuang Subdistrict Administrative Organization

ประกวดอาหารพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น"ลาบยโสธร"


ออนไลน์ : 45

Gallery :: ประกวดอาหารพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น"ลาบยโสธร"
อาหารไทยประเภทอาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออาหารอีสานเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอาหารที่ควรอนุรักษ์ และส่งเสริมให้เป็นที่นิยมและนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยอาหารเหล่านี้ ได้รับการปรุงแต่งและถ่ายทอดสูตรตามแบบฉบับจากรุ่นสู่รุ่น ตำรับอาหารพื้นบ้านท้องถิ่นจึงเป็นความผสมผสานที่ลงตัวระหว่างชนิดของอาหาร ปริมาณเครื่องปรุงที่มีเสน่ห์ความเป็นไทยในตัวของมันเอง มีรสชาติที่กลมกล่อมและหลากหลาย ในอาหารชนิดเดียวกันมีสรรพคุณในการบำรุงและรักษา ซึ่งแสดงออกจากภูมิปัญญาอันหลักแหลมของบรรพบุรุษไทย ดังนั้น อำเภอมหาชนะชัย ได้ตระหนักถึงประเพณี วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ประกอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีหน้าที่ทำนุบำรุง ส่งเสริมรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นนั้น อำเภอมหาชนะชัย ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลฟ้าหยาด องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ทั้ง ๑๐ แห่ง หน่วยงานภาครัฐและเอกสาร ชุมชน หมู่บ้าน สถานศึกษา พ่อค้า และประชนชน ได้กำหนดการจัดงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประจำปี ๒๕๖๖ ในระหว่างวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร โดยในงานมีกิจกรรมการประกวดพวงมาลัยข้าวตอก สวยงาม ประเภทมาลัยข้อ และมาลัยสายฝน มีถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒ ถ้วย กิจกรรมการประกวดธิดามาลัยข้าวตอก กิจกรรมการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP สู่ความเป็นเลิศ จากกลุ่มผู้ผลิตสินค้าในเขตพื้นที่อำเภอมหา ชนะชัย และใกล้เคียง ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวกับอาหารพื้นเมืองท้องถิ่น จึงได้กำหนดจัดทำโครงการประกวดอาหารพื้นเมืองท้องถิ่น ในการจัดงานดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ กรรมวิธี ศิลปะประกอบอาหารพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป โครงการจัดการประกวดแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.การประกวดสำรับอาหารพื้นบ้าน“ลาบยโสธร” และ ๒. การประกวดการตำส้มตำลีลา ๑. เพื่อเป็นกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประจําปี ๒๕๖๕ ๒. เพื่อเป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ด้าน วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน ๓. เพื่อเป็นการพัฒนาส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ศิลปะการประกอบอาหารพื้นบ้านท้องถิ่น ให้มีความเป็นเลิศ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไป และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีคุณภาพ ต่อไป ๔. ส่งเสริมทรัพยากรบุคคลในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์ให้มีความโดดเด่นน่าสนใจ ดึงดูดผู้เข้าร่วมและรับชม ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ๕. เพื่อค้นหาและจัดทำฐานข้อมูลเมนูสำรับอาหารพื้นบ้านในแต่ละชุมชนท้องถิ่น
วันที่ : 4 มีนาคม 2566   View : 808